วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่
 - จัดจากง่าย >>> ยาก
 - ตรวจสอบได้
 - ของเป็นรูปทรง
 - เน้นการสัมผัส
 - การจัดเป็นระเบียบ

การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์
  - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ สัญลักษณ์
  - สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่

รูปแบบการจัดประสบการณ์
    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
    การจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
    การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
    การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
    การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
    การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

การเรียนรู้แบบบูรณาการ
การนำไปใช้ 
เด็ก ต้อง ควร อยาก รู้อะไร    >> สาระการเรียนรู้
เด็ก ต้อง ควร อยาก ทำอะไร >> ทักษะ ประสบการณ์สำคัญ


ทักษะ
 นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น
สรุป  
   เป็นการจัดกิจกรรมเน้นการจัดแบบใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ตา - ดู
หู  - ฟังมีกระบอกเสียงให้เด็กได้ฟัง
สัมผัส - ปิดตาและให้ด็กสัมผัสสิ่งต่าง
ดม - จมูกดมกลิ่น
ลิ้น - ชิมน้ำรสชาติต่างๆ
การทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในขั้นต่อไป

นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาววัชรี วงศ์สะอาด
สรุป
    เรียนรู้เรื่องผลไม้ ให้เด็กได้ชิมรสของผลไม้ เล่นจ้ำจี้ผลไม้ และนำเด็กไปทัศนศีกษา แต่ก่อนไปมีการทำข้อตกลงก่อนไปโดยเสนอว่ามีข้อตกลงใดบ้าง เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ค้า
ตัวอย่างการเรียนรู้ เมื่อเจอแม่ค้าสวัสดี ถามว่าผลไม้นี้ขายอย่าไร หากเป็นกิโลก็จะให้เด็กช่ายกันนับว่าส้ม 1 กิโลกรัม เข็มกิโลจะเป็นอย่างไร และจะได้ทั้งหมดกี่ผลจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่อง รูปทรง การวัด การนับ
** การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบนอกสถานที่**


เพลง 
                                               นี่คือนิ้วมือของฉัน            มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
                                               มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว             มือขวาก็มี 5 นิ้ว
                                               นับ 1 2 3 4 5                     นับต่อมา 6 7 8 9 10
                                               นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ           นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ



วิธีการสอน
 ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เช่น การจัดประสบการณ์ดังกล่าวเป็นรูปแบบใด เป็นแนวคิดของใคร
นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบเนื่องด้วยไม่ได้นำป้ายชื่อไปเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  เทคนิค คือ จัให้เห็นเป็นรูปธรรม
นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง บทบาทสมมุติ การประกอบอาหาร ปริศนาคำทาย

-การนับเลข 1-10
    เลข 1 = เสาธง           เลข 6 = หัวลง
    เลข 2 = คอเป็ด          เลข 7 = ไม้เท้า
    เลข 3 = สองหยัก       เลข 8 = ไข่แฝด
    เลข 4 = เก้าอี้             เลข 9 = หัวขึ้น
    เลข 5 = มีหลังคา       เลข 10 =  มี 1 กับ 0
-นับเป็นคำคล้องจอง
-ติดตัวเลขรอบๆห้อง
-นับจำนวนต่างๆได้
-ทำแผนภูมิเพื่อให้เห็นชัดเจน
-การจับออก 1:1

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
     ตัดกระดาษ 1.5 x 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น



                                 



ทักษะ


สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด

สรุปผล คือ สวนรถไฟ 3   คน
                  เกาะ         10  คน
                  น้ำตก        3   คน

นำเสนอวิจัย เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์
โดย  นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว
สรุป
      จัดการเรียนรู้แบบเรียน + เล่น = สนุกและเกิดการเรียนรู้
อิกทั้งเพื่อเป็นการสืบสารวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่อง การนับ รู้จักตัวเลข เลข1-30
เลขคู่-เลขคี่  โดยผ่านการละเล่นต่างๆ เช่น รีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย เป็นต้น
ซึ่งมีวิธีการประเมินโดย
- ศึกษากลุ่มเด็กว่าต้องการสิ่งใด
- วัตถุประสงค์ต้องคำนึงถึงอายุเด็ก
- วางแผนเลือกรูปแบบให้เหมาะสม
- การสอนบูรณาการให้ได้องค์รวม
เริ่มจากสิ่งที่ ง่าย >> ยาก  รูปธรรม >> นามธรรม

วิจัย เรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่น
โดย นางสาวสุธินี โนนบริบูรณ์
สรุป
      จากการวิจัยใช้กับเด็ก ชั้นอนุบาล 2 ทำทั้งหมด 24 กิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ
รูปทรง ขนาด ชนิด สี  ซึ่งสื่อนั้นจะใช้จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น กะลามะพร้าว ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม่ไผ่
ตัวอย่าง  ทำไม้บล็อกจากไม้ประดู่
               การเรียงลำดับกระบอกไม้ไผ่ ใหญ่ > กลาง > เล็ก
ผลการวิจัย คือ เด็กที่ได้ร่วมกิจกรรมการวิจัยจะมีพัตนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรม


วิธีการสอน   
     ใช้การสอบแบบบรรยายประกอบกับโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
          ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินสภาพในห้องเรียน
      รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้  อากาศภายในห้องค่อนข้างร้อน
ประเมิน
  ตนเอง  -  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่การแต่งกายผิดระเบียบเนื่องจากใส่ชุดพละเข้าเรียน
  เพื่อน   -  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาทำให้เสียสมาธิในการเรียน
  อาจารย์ - เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายเหมาะสมสุภาพเรียบร้อย รูปแบบการสอนการสอนเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ มีการสอดแทรกคุณธรรมต่างๆ และการดำเนินชีวิต

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
ประจำวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน ในชั้นปฐมศึกษา เน้นลงมือกระทำ จับต้องได้เป็นรูปธรรม ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนนั้น อาจจัดเป็นโมเดลการศึกษา หรือ ให้เด็กนำวัสดุ สื่อ การเรียนมาเอง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะ
 นำเสนอบทความ
โดย นางสาวชนากานต์ แสนสุข
สรุป
การประสบการณ์จัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การให้เด็กรู้คณิตศาสตร์จะทำให้เด็กมี้หตุผล เข้าใจ วิธีกระบารการคิดเพื่อ
- พัฒนาความคิดรวบยอด การบวก การลบ
- รู้กระบวรการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก
- รู้จักคำศัพท์และสัญลักษณ์
- รู้จักการนับ การวัด
สามารถทำได้ตั้งแต่เด็ก ควรจัดประสบการณ์จัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม


เพลง จัดแถว
  สองมือเราชูตรง          แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า           แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง  ซ้าย-ขวา
    ยืนให้ตัวตรง         ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน          หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลง  นกกระจิบ
  นั่นนกบินมาลิบ ลิบ       นกกระจิบ 1 2 3 4 5 
                              อีกฝูงบินล่องลอยมา       6 7 8 9 10 ตัว


 ตารางแสดงการมาเรียนขอนักเรียนในห้องเรียน
จำนวนนักเรียนทั้งหมด


จำนวนนักเรียนที่มาเรียน


จำนวนนักเรียนที่มาเรียน และ ไม่มาเรียน

    การนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้
เนื่องด้วยตารางนั้นเป็นภาพ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ง่าย เพราะ เด็กในวัยนี้จะเกิดการเรียนรู้ได้เร็วจากภาพและสัญลักษณ์   สอนเด็กในเรื่องการนับ และ รู้จักการสังเกตุ อีกทั้งยังได้พัฒนาการทางด้านสังคมได้อีกด้วย



วิธีการสอน
 ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ 
นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
มีการสอนแบบเป็นรูปธรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น


ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบเนื่องด้วยไม่ได้นำป้ายชื่อไปเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น