วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
ประจำวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

     
การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
ตัวอย่างโรงเรียนที่มีการสอนแบบSTEM

โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่
                                                
                                                                     
การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี่   
   
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 2 : การวัด
   - ความยาวของสิ่งของต่างๆ เป็นการหาตามแนวนอน
   - การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
   - การวัดควายาว ความสูง ของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน
   - ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่างๆ
   - เรียงลำดับความยาว ความสูง จากมาก-น้อย จากน้อย-มาก
   - การชั่งน้ำหนัก ปริมามาตรน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
   - การตวง
   - ตัวเลขบนพันธบัตร
   - เวลาในแต่ละวัน
   - เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้
   - ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
   - ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะของสิ่งของต่างๆ
   - การจำแนก วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สาระที่ 4 : พีชคณิต
   - รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์




สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - ครอบครัวแม่เป็ดมี 6 ตัว หายไป 2 ตัว เหลือกี่ตัว
                      6 - 2 = 4
        ครอบครัวเป็ดเหลือ 4 ตัว
*** สอนแบบเป็นนิทาน ***
ตัวอย่าง
ครอบครัวของแม่เป็ดทั้งหมด 6 ตัว วันนี้แม่เป็ดจะพาลูกเป็ดออกไปหาอาหาร  จึงให้ลูกเป็ดเดินเป็นแถว
แม่เป็ดเรียกลูกเป็ด 1 2 3 4 5 และรวมแม่เป็ดด้วยเป็น 6 ตัว ทั้งหมดเดินมางไปหาอาหาร และได้หยุดเล่นน้ำที่บึงแห่งหนึ่ง ลูกเป็ด 2 ตัวได้เล่นน้ำไกลออกไปจากแม่และพลัดหลงกับแม่เป็ด  แม่เป็ดเรียกลูกเป็ดให้กลับบ้าน 1 2 3 และแม่เป็ด 4 เอ๊ะ!! หายไปไหน 2 ตัว เพื่อนๆรู้ไหมว่า ครอบครัวเป็ดจะเหลือกี่ตัว?

ทักษะ
นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวประภัสสร สีหะบุตร เลขที่ 21
เรื่อง  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
สรุป 
       ทักษะทางพื้นฐานคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอย่างมีวินัยสำคํญทางสถิติ การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำเพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้นำ้มันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็กเพื่อที่จะได้สะดวกกับเด็กในการทำกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีพัฒนาการด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย เช่น
ด้านความคิดแก้ปัญหา ทักษะทางภาษาส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและลีลามือ การทำกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจในการทำกิจกรรม

นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวมาศสุภา วงษ์สรรค์ เลขที่ 23
เรื่อง  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
ชื่อผู้วิจัย  นางสาววรชนีกร พ่วงโพธิ์
สรุป 
     ในการส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนั้นจะแรทรกอยู่ทุกกิจกรรม แต่กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและรู้สึกผ่อนคลาย พัฒนาสมอง เพลิดเพลินโดนเด็กไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เด็กได้เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวและฟังเพลงซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กอนุบาล 1 ซึ่งมีสมาธิไม่มากพอจะจับมานั่งเรียนคณิตศาสตร์

กิจกรรมในห้องเรียน



       

สรุปจากตาราง
วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย เสียงพัดลมดังเหมือนจะพัง
 
ประเมิน
     ตนเอง -   แต่งกายถูกระเบียบ ปรับปรุงการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ทำงานที่ได้รับมอบหมาให้ไม่เรียบร้อย
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งใจฟังการนำเสอนของเพื่อน
     อาจารย์ - เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
ประจำวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  การจัดการเรียนการสอนซึ่งให้ความสำคัญกับเด็กให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอ่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบกาณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ 
    
วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 
เริ่มโครงการ >>ระยะวางแผนโครงการ>>ดำเนินโครงการตามที่กำหนด>>สรุปโครงการ

ประโยชน์

- เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
- เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะที่มีอยู่
- เด็กเกิดแรงจูงใจภายในที่เกิดจากตัวเด็กเองในการทำกิจกรรม
- เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข
- นำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง

การนำไปประยุกต์ใช้ 

   ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้สัมผัส ได้เรียนรู้จากสถานที่จริง มีความอดทน รอคอยการสร้างองค์ความรู้ของเด็กมากกว่าจะบอกคำตอบเด็กทันที

การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน

     การออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาสมองของเด็ก เช่น ความแตกต่างระหว่างสมองของชายและหญิง มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมองชายและหญิง จะพบส่วนที่แตกต่างไม่กี่ส่วนเท่านั้น

หลัการสำคัญ

1. Uniquenness สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะ
2. ภาวะความเครียด จะมีผลยับยั้งรวมไปถึงการทำลายสมองด้วย
3. อารมณ์และความรู้สึกมีผลต่อการเรียนรู้
4. ขอมูลถูกเก็บและนำออกมาใช้ โดยความทรงจำหลายๆแบบ
5. การเรียนรู้ทุกชนิดอยู่บนพื้นฐานของ "จิตใจ-ร่างกาย"
6. สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนและปรับตัวตลอดเวลา
7. Brain is meaning driven - กระตุ้นความสนใจของสมองมากกว่า เนื้อหาของข้อมูลหรือข่าวสาร
8. ความฉลาด คือ ความสามารถในการรับรู้ เก็บ จัดระบบ และนำไปใช้ประโยชน์
9. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เข้มข้น และเกิดภายใต้จิตมนุษย์
10. สมองจะพัฒนาได้ดีมากเมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์กับสมองอื่นๆ
11. สมองพัฒนาไปทีละขั้น
12. การทำนุบำรุงสมองเกิดขึนได้ทุกอายุ

การนำไปประยุกต์ใช้

    ต้องให้ความสนใจต่อตัวเด็กเป็นรายบุคคล กระตุ้นให้เด็กรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต เข้ามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็นในปัจจุบัน 

การจัดประสบการณ์ แบบSTEM

      เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กัับผู้เรียน
S - Science-วิทยาศาสตร์
     ช่วยให้เรามีทักษะพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล
T-Technology-เทคโนโลยี
      วิทยาการมี่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือ สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
E-Engineering-วิศวกรรมศาสตร์
       ทักษะกระบวนการออกแบบ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบที่ใช้งานได้จริง
M-Mathematic-คณิตศาสตร์
       วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวน

การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่

      เป็นวิธีการนำการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ 
หลักการเรียนการสอน
- จัดห้องเรียนเสมือนบ้าน
- ให้เสรีภาพกับเด็กที่จะเลือกเล่นด้วยตนเอง
- จัดสภาพการณ์ต่างๆที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
- พัฒนาจิตใจพร้อมกับพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ
- เรียนไปพร้อมกับการเล่น
- ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กทุกด้าน
- ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การรักเด็กและนับถือความสามารถของเด็ก
- มุ่งให้เด็กได้เป็นเด็กที่ดีมีคุณค่าทางจิตใจ
- จัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำ โดยเตรียมการสอนและสิ่งเเวดล้อมอย่างมีความหมายให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจเอง ไม่ต้องมีคำติชม การให้รางวัล และการลงโทษ

การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง
       เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้อย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลกหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อพัฒนาศักยภาพทั้งตัว
ขั้นการสอนแบบเดินเรื่อง
1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้
2. กำหนดหัเรื่อง ควรเป็นเื่องที่เด็กสนใจ
3. เตรียมการผูกเรื่องหรือการดำเนินเรื่อง
4. ตั้งคำถามหลักหรือความสำคัญ ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยงการดำเนินเรื่องในแต่ละตอน


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้








ทักษะ

นำเสนอบทความ
โดย นาวสาววราภรณ์ แทนคำ เลขที่ 19
เรื่อง ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ในช่วงปีแรกของชีวิตของลูก
สรุป 
       อายุ 0-5 ปี เป็นช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด สมองซีกขวาจะได้ออกกำลังกาย และจะช่วยสร้างเซลล์สมองของลูกที่ถูกทำร้าย หรือฝ่อไปการสอนทำได้ง่ายๆเพียงการเพียงการดูชุดแฟรชจำนวนกับลูกทุกวัน และใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง

กิจกรรมในห้องเรียน
เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
1 - 5       กลุ่มสตอเบอรี่
6 - 10     กลุ่มเชอรี่
11 - 15   กลุ่มแอปเปิล
15 - 20   กลุ่มลิ้นจี่
21 - 25   กลุ่มมะม่วง
วิธีดำเนินการ
   นำป้ายชื่อมาติด>>พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง>>เลือกกลุ่ม>>นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน>>นับจำนวนป้ายทั้งหมด>> นำเสนอด้วยภาพและสัญลักษณ์

เพลง บวก-ลบ
                                                 บ้านฉันมีแก้ว 4 ใบ            ครูให้อีก 3 ใบนะเธอ
                                               มารวมกันนับดูซิเออ            ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                               บ้านฉันนั้นมีแก้วน้ำ 7 ใบ     หายไป 3 ใบนะเธอ
                                               ฉันหาแก้วน้ำไม่เจอ             ดูซิเออเหลือเพียง 4 ใบ

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
                                                           ช้างมี 4 ขา           ม้ามี 4 ขา
                                                       คนเรานั้นหนา           2 ขาต่างกัน
                                                       ช้างม้ามี 4 ขา           4 ขาเท่ากัน(ซ้ำ)
                                                       แต่กับคนนั้น             ไม่เทากันเอย(ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
     เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
            คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
               (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                  ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี

เพลง จับปู
         1 2 3 4 5        จับปูมาได้ 1 ตัว
              6 7 8 9 10             ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
                   กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว       ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ
         ลา ล้า ลา ... 
วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย
 
ประเมิน
     ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบในการมาเรียน เข้าห้องเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ปรับปรุงการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
     อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  เข้าสอนตรงต่อเวลา