วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
ประจำวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

 คุณลักษณะตามวัยของเด็กหรือคุณลักษณะตามธรรมชาติ

1 พฤติกรรมทางด้านร่างกาย
พฤติกรรมทางด้านอารมณ์ จิตใจ
3 พฤติกรรมทางด้านสังคม
พฤติกรรมทางด้านสติปัญญา

ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
          ความรู้ทางด้านศักยภาพ
   -การใช้ประสาทสัมผัสเป็นความรู้ภายนอก >> การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
          ควมรู้ทางเหตุผลด้านคณิตศาสตร์
  -เกิดขึ้นภายในที่เกิดจากกาารเชื่อมโยง+ทฤษฎี โดยการเลือกลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อน
***ควมรู้ทางเหตุผลด้านคณิตศาสตร์ จะเกิดขึ้นหลังจากเด็กลงมือกระทำ + เชื่อมโยงข้อเท็จจริง

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ >> รู้จักคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-มโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  >> การบวก การลบ
-รู้จักกระบวนนการการหาคำตอบ
-ฝึกฝนคณิตพื้นฐาน
-มีความรู้ความเข้าใจ
-ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาาคำตอบด้วยตัวเอง
 
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศสตร์
1 สังเเกตุ Observation
    - ประสาทสัมผัสทั้งห้า
    - มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดมุ่หมาย

2 การจำแนกประเภท Lassifying
    - การแบ่งประเภทสิ่งโดยหาเกณฑ์
    - เกณฑ์การจำแนก

3 การเปรียบเทียบ Comparing
    - อาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
    - มีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์มี่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ Ordering
    - การเปรียบเทียบขั้นสูง
    - การจัดลำดับเหตุการณ์

5 การวัด Measurement
    - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
    - การวัดสำหรับเด็ก เช่น เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก
6 การนับ Counting
    - ท่องจำไม่เข้าใจความหมาย
    - ท่องแบบมีความหมายเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด Sharp and Size
    - เด็กกส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าโรงเรียน เพราะเป็นประสบการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก
       คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข   -     มาก น้อย ไม่มี ทั้งหมด
ขนาด    -     ใหญ่ คล้าย สูง เตี้ย
รูปร่าง   -      สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ยาว โค้ง
ที่ตั้ง      -     บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด
ค่าของเงิน     -    สลึง หนึ่งบาท ห้าบาท
ความเร็ว        -    เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
อุณหภูมิ        -     เย็น ร้อน อุ่น เดือด

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 
1 การนับ
2 ตัวเลข
3 การจับคู่
4 การจัดประเภท
5 การเปรียบเทียบ
6 รูปร่างและพื้นที่
7 การวัด
8 การจัดลำดับ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย 
1 สอดคล้องกับชีวิประจำวัน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ้ด็กมองเห็นความจำเป็น
2 เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเอง
3 วางแผน
4 เอาใจใส่กับลำดับพัฒนาการ

ทักษะ
 นำเสนอโทรทัศน์ครู
นางสาวจรีพร เฉลิมจาน
สรุป
ก่อนเรียนครูจะอบอุ่นร่างกาย ให้เด็กคิดท่าทางด้วยตนเอง เช่น เครื่งหมายบวก เครื่งหมายลบ เครื่องหมายเท่ากับ ครูจะนำเพลงที่มีเนื้อหาดังกล่าวมาใช้ เมื่อเด็กได้ยินคำที่ตรงกับคำว่า บวก ลบ เท่ากับ เด็กจะทำท่าทางตาม

นางสาวกรกช เดชประเสริฐ
สรุป
เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข 1-9 และ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น one = 1 
ครูจะใช้สิ่งของที่เป็นจริงในการสอน เช่น สอนเรื่องการบวก  3+2 = ? มีส้ม 3 ผล แม่ให้อีก 2 ผล จะมีส้มทั้งหมด 5 ผล 

นางสาวปรางชมพู บุญชม
สรุป
เป็นการสอนเด็กอายุ 2-3 ปี ยังคงสอนแบบสนุก หาสื่อที่ดึงดูดความสนใจเด็ก ตัวเอย่างเช่น ครูจะสอนเรื่องเลข 3 นั้นเป็นอย่างไร นับอย่างไร ต้องมีค่าเท่าไหร่ จะใช้การปั้นดินน้ำเป็นตัวเลข ได้พัฒนาการทางด้านปัญญา สังคม สติปัญญา และ ร่างกาย

เกมทายตัวเลข
เลขอะไรไม่เข้าพวก
20 25 15 23
ตัวอย่าง  เกณฑ์ 5 หารลงตัว  ตอบ 23 ต่างจากพวก
เกณฑ์ มีเลข 2 อยู่ข้างหน้า ตอบ 15
** มีความเป็นไปได้ทุกตัว เนื่องด้วยเกณฑ์ที่ต่างกัน **

โจทย์คือ
ครูตั้งคำถาม
48 หาร 2 = ?
12 คูณ 2 = ?
วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง ?
คำตอบ คือ 24 
>>>เราสามารถตั้งคำถามได้มากมาย คิดออกมาได้เรื่อยๆ คำตอบคือ โจทย์ นั่นเอง

เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  อาบน้ำการแต่งตัว 
กินอาหารดีมีทั่ว  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน  
หลั่นล้า  หลั่นล้า  หลั่นล่า  ลันลา 
หลั่นลา  หลั่นล้า


กิจกรรม ใครมาถึงมหาวิทยาลัยเวลาใด
ทำป้ายชื่อ แล้วนำไปติดตามเวลาที่ตนเองมาถึงมหาวิทยาลัย
เกณฑ์ในการแบ่ง คือ เวลาเที่ยง



วิธีการสอน
  ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ถามตอบ โต้แย้งความเห็นของแต่ละคน
  นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 

ประเมินสภาพในห้องเรียน

จัดเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลม รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องเรียนมีความเย็นจึงเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงต่อเวลา รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตอบคำถามอย่างมีเหตุมีผลเสียงดังชัดเจน ถก                เถียงข้อโต้เเย้งต่างๆ
  อาจารย์ - เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ สอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

สรุปโทรทัศน์ครู

คณิตในชีวิตประจำวัน ตอน Making Maths Real : สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา ตอน 1
 

      การเรียนการสอนในประเทศอังกฤษ
            Making + Maths = Real สอคณิตให้มีชีวิตชีวา
      นำเด็กเข้าสัมผัสหัวใจหลักแห่งการเรียน ครูต้องมานะและทุ่มเทให้นักเรียนซึ่งตัวจะสัมผัสสิ่งเหล่านี้ได้ เริ่มค้นหาความสนใจของเด็ก >> จากนั้นวางแผน  เด็กจะชอบและสนุกไปกับการเรียน เพราะ เป็นสิ่งที่เด็กต้องการ ดังนั้น ควมสัมพันธ์ของครูและเด็กจะนำไปสู่ความสำเร็จ
       การเรียนการสอนในห้องเรียน
- อบอุ่นร่างกาย เคลื่อนไหวไปมา ปรบมือ ทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กสดชื่น
- ร้องเพลง และต้องแน่ใจว่าเด็กอยากร้องและตื่นตัว
- ก่อนเข้้าสู่บทเรียนทำกิจกรรมเกียวกับตัวเลข เช่น ทำนิ้วเป็นจำนวนตามที่ครูบอก
***สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้นักเรียนสนุก เพื่อจะได้ใจจดใจจ่อรู้สึกว่าอยากเรียน***
    การทำสัญลักษณ์โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกายทำเป็นตัวเลข และ เครื่องหมายต่างๆทางคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนต้องมีความมั่นใจและสนุกกับการสอน
- การสอดแทรกการแสดงไว้ในบทเรียนเพือ่ความตื่นเต้น และเข้าสู่ห่วงความคิด เน้นการมีความสุขในสิ่งที่ทำโยมีครูเป็นแบบอย่าง
     จำลองห้องเรียนพิซซ่า เด็กและครูเป็นผู้ซื้อ ผู้ขาย ร่ามกันในร้านพิซซ่า 
- มีการจัดเด็กที่ไม่มีความเชื่อมั่นและกลัวการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มาจับกลุ่มเรียนก่อน เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และความกล้าในการเรียนรู้

บันทึกอนุทินครั้งที่3



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
ประจำวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
  ความหมาย  การเปลี่ยนแปลงจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง อย่างเป็นขั้นๆ
**พัฒนาการเปรียบได้กับบันได**
ประโยชน์  เข้าใจและรู้จักเด็กมกยิ่งขึ้น ตระหนักถึงความแตกต่าง จัดประสบการณ์ได้ตรงตามวัย

พัฒนาการทางสติปํญญาและการทำงานของสมอง


ภาษา+คณิต = เครื่องมือการใช้ชีวิตประจำวัน
    ตัวอย่าง 1 2 3 4 5... คือ ภาษาทางคณิตศาสตร์
การเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งนั้นๆ
     รับรู้ >> เปลี่ยนแปลง >> เรียนรู้

พัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์  ไวก็อตสกี้

เพียเจต์
>>พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้ (นำมาเฉพาะขั้นที่อยู่ในระดับปฐมวัย)
      1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู
      2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
>>ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
>>ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์

บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ 
1 การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ กับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2 การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
3 การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระ
4 แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
     ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) 
     ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
     ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)
6 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
7 การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

ไวก็อตสกี้
 >>ทฤษฎีของเขาเชื่อว่า เด็กได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 
ความคิดเห็นนี้ตรงข้ามกับมุมมองของ เพียเจต์ ที่เชื่อว่า เด็กเป็นนักพัฒนาลำพัง ไวก็อตสกี้ เชื่อมั่นว่า เด็กแสวงาผู้ใหญ่สำหรับปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาการก็เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์เหล่านี้
              
ทักษะ
-ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
-อ่านคำคล้องจอง
 คำคล้องจองเจ็ดวันบันเทิง

หน้า-กลาง-หลัง
                                      เรือใบ    สีแดง     แล่นแซง   ขึ้นหน้า
                                      เรือใบ    สีฟ้า       ตามมา     อยู่กลาง
                                      เรือใบ    ลำไหน    แล่นอยู่     ข้างหลัง
                                      สีขาว     ช้าจัง      อยู่หลัง     สุดเลย


>>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง สี ตำแหน่ง การเรียงลำดับ

ใหญ่-เล็ก
                                      มาลี        เดินมา   เห็นหมา   ตัวใหญ่
                                      มาลี        ร้องให้   ตกใจ      กลัวหมา
                                      เห็นแมว   ตัวน้อย   ค่อยๆ      ก้าวมา
                                      แมวเล็ก   กว่าหมา  มาลี       ไม่กลัว
                 >>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง ขนาด การเปรียบเทียบ


วิธีการสอน
   ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อเห็นถึงความรู้เดิมที่ผู้เรียนเคยเรียนมา
   นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้แต่ละคนมีส่วนร่วมมากที่สุด กล้าพูด กล้าคิด กล้าเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับพัฒนาการ ความสำคัญ การนำไปใช้

ประเมินสภาพในห้องเรียน

    รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้

ประเมิน
  ตนเอง  -  เข้าเรียนตรงเวลา กล้าเสนอความคิดเห็น ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ 
  อาจารย์ -  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึง เสียงดังชัดเจน เข้าสอนตรงต่อเวลา

สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย

การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ


ชื่อผู้แต่ง  สายพิณ  ใจยวน
ชื่อเรื่อง  การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ Development of preschool children's mathematic's readiness through paly-learn-summsrize-practice method

     ในชีวิตจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลขตั้งแต่เยาว์วัย คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก พอสรุปได้ว่า เป็นประสบการณ์ที่ครูจัดให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และยังต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผนและเตรียมการเป็นอย่างดีจากครูผู้สอน เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้า แก้ปํญหาการเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดทางความรู้ มีทักษะความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประวัน
   การสอนแบบเล่นขเรียนขสรุปขฝึกทักษะ  เป็นการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นหลัก เพราะ เด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้จากการสัมผัสโดยตรง เป็นวิธีการสอนที่เปิดโอกกาสให้ผู้เรียนได้เล่น และสัมผัสกับสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาจริงๆอย่างละเอียดตามแผนการจัดประสบการณ์ ทั้งในแง่ความคิดรวบยอด หลักการ รวมไปถึงวิธีการคิดต่างๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาสรุปเป็นความคิดรวบยอด และหลักการทางคณิศาสตร์ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ทำแบบฝึกทักษะ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้
   ข้อจำกัด ครูต้องเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กได้เล่น สังเกต คิด จึงจะช่วยให้กระบานการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย ต้องใช้เวลามากในการให้นักเรียนได้เล่นและเรียนก่อนจะสรุปหลักการ


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

ประจำวันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน


เกมตัวเลขแสนรัก
ตัวอย่าง  350 158  
วิธีการเล่น ลองคาดเดาว่าตัวเลขนี้มีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้ถาม
เฉลย คือ 350 คือ เลขที่บ้าน
            185 คือ /ของเลขที่บ้าน
***แสดงให้เห็นว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่รอบๆตัวเรา อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา***
                 
ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1 ความหมายของคณิตศาสตร์
    วิชาว่าการคำนาณ หรือ วิชาว่าด้วยการคิดเลข เป็นวชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพของแต่ละอาชีพ  เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัวไม่ใช่แค่จำนวนตัวแรก


2 ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เช่น การฝึกพูดฝึกเรียน ฝึกใช้ระบบและวิธีการ ทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลมีนิสัยที่ละเอียดรอบครอบ ถี่ถ้วน มีไหวพริบปฏิภาณที่ดีขึ้น ในการลงมือปฏิบัติเพื่อหาข้อพิสูจน์ในการคิด ควรสอนให้ถูกต้องตั้งแต่พื้นฐานเพื่อจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

3 ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์

   เป็นกระบวนการทางความและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ตั้งแต่รู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนก การเรียงลำดับ เป็นต้น เด็กจะเรียนรู้ไจากการจัดกิจกรรมของครู แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับพัฒนาการของเด็กเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างประสิทธิภาพ
กรอบมาตรฐานของ สสวท.
   -จำนวนและการดำเนินการ
   -การจัด
   -เรขาคณิต
   -พีชคณิต
   -การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น

4 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
    คณิตศาสตร์ทำเด็กเรียนรู้ เกี่ยวกับการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ ตามลักษณะหรือขนาด ช่วยในการปลูกฝังอบรมจะทำให้มีนิสัยละเอียด สุขุม รอบครอบ และมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี


  
ทักษะ
               กิจกรรมในห้องเรียน
แบ่งปันความรู้จากบทความที่แต่ละคนหา มานำเสนอหน้าชั้นเรียน


 นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก

นำเสนอบทความ

สรุปได้ว่า

          การเรียนคณิตศาสตร์ต้องปฏิบัติจริงโดยการลงมือทำ  เป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดให้ โดยการลงมือกระทำนั้นต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ใช้สัมพันธ์กับความรู้เดิมและเกิดความคิดรวบยอด


นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์
นำเสนอบทความ
สรุปได้ว่า
           การเรียนรู้คณิตศาตร์ของเด็กวัยซน(0-ก่อนปรถมศึกษา) ไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวตั้งแต่ตั้งครรภ์ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้สมองดี กระตุ้นสมองเกิดทักษะความคิด การนับ การวัด การจัดสภาพโดยทั่วไปเน้นเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว เช่น เห็นต้นไม้สามารถนับได้

กิจกรรมกลุ่ม
สรุปความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
>>> ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และแนวคิดพื้นฐานของคณิตศาสตร์

รูปภาพสรุป
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



รูปภาพสรุปความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์



วิธีการสอน
      สอนแบบบรรยาย  ถาม-ตอบ มีกิจกรรมสอดแทรกเสมอ เช่น การเดาตัวเลขที่เกี่ยวกับตัวอาจราย์ เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์และตัวเลขที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเรา  
      นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้แต่ละคนมีส่วนร่วมมากที่สุด กล้าพูด กล้าคิด กล้าเสนอความคิดเห็น


ประเมินสภาพในห้องเรียน
    เนื่องจากกิจกรรมในวันนี้มีการทำงานเป็นกลุ่มต้องจัดเก้าอี้เข้าหากันเป็นวงกลม แต่ด้วยขนาดห้องเรียนมีขนาดเล็กจึงทำให้การจัดเก้าอี้เป็นไปอย่างลำบาก
 
ประเมิน
  ตนเอง   -  มีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเสนอความคิด และ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  เพื่อน    -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี 
  อาจารย์  - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ สอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมจากบทเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
 





บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

สรุปบทความ


คณิตศาสตร์ที่เด็ปฐมวัย...เรียนอย่างไรให้สนุก+เข้าใจ


โดย กรกฎ


      การให้เด็กสนุกนั้นต้องมีการคิดต่อยอดจากตำราในหนังสือ ด้วยการถอดเรื่องราวที่เป็นนามธรรมสู่รูปแบบกิจกรรมที่สนุกให้เด็กมีส่วน ร่วม เช่น เกม เพลง การใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้ชอบหยิบ ชอบสัมผัส การใช้สื่อที่เด็กเล่นสัมผัสได้ สีสันสวยงาม จะทำให้การเรียนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ครู ไม่เคยลงโทษเด็กที่ไม่ทำการบ้านส่งแต่จะให้นั่งทำการบ้าน 20 นาทีก่อนเรียนหรือถ้าทำการบ้านผิด ครูจะไม่เขียนเครื่องหมายกากบาทลงบนสมุดแต่จะเรียกมาเพื่ออธิบายให้ฟัง ให้เด็กแก้ข้อผิดตรงนั้นเลย เพราะครูไม่อยากให้นักเรียนเกลียดการเรียนวิชาคณิตฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่มีความสำคัญเช่นกัน  จัดการการเรียนรู้โดยใช้สื่อที่ประหยัด สื่อพวกนี้สร้างขึ้นจากสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ขวดโหล ไม้ไอศกรีม ฝาขวด ลูกบอลเก่าๆ กล่องกระดาษ แล้วก็หาวิธีการประยุกต์นำของเหล่านี้ให้เด็กๆ ได้เล่นและปรุงแต่งเรื่องราวของคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
เพื่อเข้าสู่การฝึกฝนในบรรยากาศของการเล่น เช่น เล่นขายของด้วยตาชั่ง แผนภาพรูปสัตว์ฝึกการจัดหมวดหมู่ เซียมซีผลัดกันเขย่าคิดเลข จิ๊กซอว์ต่อสนุกที่ด้านหลังมีโจทย์ให้เด็กฝึกคำนวณ ของเล่นแต่ละชิ้นอนุญาตให้นำกลับบ้านได้อีกด้วย



วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่1



บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
ประจำวันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

 สิ่งที่คาดหวังจากการเรียนรู้

1.คุณธรรมจริยธรรม
2.ความรู้
3.ทักษะทางปัญญา
4.ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
5.ทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ทักษะการจัดการเรียนรู้

มาตรฐาน = เกณฑ์ขั้นต่ำ

หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษา
สพท. ย่อมาจาก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สกอ.  ย่อมาจาก  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สพฐ.  ย่อมาจาก  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สพป.  ย่อมาจาก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สพม.  ย่อมาจาก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา


ทักษะ
 กิจกรรมในห้องเรียน
 - เขียนแผนความคิดเกี่ยวกับ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
รูปภาพผังความคิด

- สำรวจตัวเองว่าเก่ง หรือ ถนัดในด้านใด เพื่อให้ค้นพบตนเอง


วิธีการสอน
  ถาม-ตอบ
อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย

ประเมินสภาพในห้องเรียน

รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนยังไม่ค่อยมีความพร้อมสักเท่าไหร่ เนื่องจากยังขาดจอโปรเจ็กเตอร์ในการสอน

ประเมิน
  ตนเอง -  ยังไม่ค่อยมีความพร้อมด้านการเรียนเนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ