บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
ประจำวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
ความหมาย การเปลี่ยนแปลงจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง อย่างเป็นขั้นๆ
**พัฒนาการเปรียบได้กับบันได**
ประโยชน์ เข้าใจและรู้จักเด็กมกยิ่งขึ้น ตระหนักถึงความแตกต่าง จัดประสบการณ์ได้ตรงตามวัย
พัฒนาการทางสติปํญญาและการทำงานของสมอง
ภาษา+คณิต = เครื่องมือการใช้ชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง 1 2 3 4 5... คือ ภาษาทางคณิตศาสตร์
การเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งนั้นๆ
รับรู้ >> เปลี่ยนแปลง >> เรียนรู้
พัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวก็อตสกี้
เพียเจต์
>>พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้ (นำมาเฉพาะขั้นที่อยู่ในระดับปฐมวัย)
1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู
2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
>>ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
>>ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์
บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้
1 การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ กับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2 การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน3 การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระ
4 แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage)
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)
6 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
7 การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
ไวก็อตสกี้
>>ทฤษฎีของเขาเชื่อว่า เด็กได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ความคิดเห็นนี้ตรงข้ามกับมุมมองของ เพียเจต์ ที่เชื่อว่า เด็กเป็นนักพัฒนาลำพัง ไวก็อตสกี้ เชื่อมั่นว่า เด็กแสวงาผู้ใหญ่สำหรับปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาการก็เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์เหล่านี้
-ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
-อ่านคำคล้องจอง
คำคล้องจองเจ็ดวันบันเทิง
หน้า-กลาง-หลัง
เรือใบ สีแดง แล่นแซง ขึ้นหน้าเรือใบ สีฟ้า ตามมา อยู่กลาง
เรือใบ ลำไหน แล่นอยู่ ข้างหลัง
สีขาว ช้าจัง อยู่หลัง สุดเลย
>>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง สี ตำแหน่ง การเรียงลำดับ
ใหญ่-เล็ก
มาลี เดินมา เห็นหมา ตัวใหญ่มาลี ร้องให้ ตกใจ กลัวหมา
เห็นแมว ตัวน้อย ค่อยๆ ก้าวมา
แมวเล็ก กว่าหมา มาลี ไม่กลัว
>>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง ขนาด การเปรียบเทียบ
วิธีการสอน
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อเห็นถึงความรู้เดิมที่ผู้เรียนเคยเรียนมา
นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้แต่ละคนมีส่วนร่วมมากที่สุด กล้าพูด กล้าคิด กล้าเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับพัฒนาการ ความสำคัญ การนำไปใช้
ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้
ประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา กล้าเสนอความคิดเห็น ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
เพื่อน - มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
อาจารย์ - อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึง เสียงดังชัดเจน เข้าสอนตรงต่อเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น