วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

สรุปการเรียนรู้
รายวิชา การจัดประสบการณ์คณิศาสตรร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Mathematic Experienes Management for Early Childhood

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

ทักษะ

คุณธรรมจริยธรรม
- การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- การตรงต่อเวลา
- มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- ยอมรับฟังคิดเห็นผู้อื่น
- มีความเสียสละ
- มีความซื่อสัตย์



วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
ประจำวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2558
(ตารางเรียนชดเชยวันพุธที่ 4 เมษายน 2558)

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

ค้นคว้าหาคำตอบจากคำถาม

ทักษะ
- กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
- การทดสอบความรู้ที่ได้รับการศึกษา
- การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ปลูกฝังการเป็นคนที่มีคุณจริยธรรม หลักการดำเนินชีวิต
- การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์

วิธีการสอน
    ให้ทำแบบทดสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และแสวงหาความรู้อย่างเปิดกว้าง โดยใช้วิธีกาารต่างในการค้นหารคำตอบหนังสือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เป็นการประมาลความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมา กำหนดเวลาในการทำ 3 ชั่วโมง


ประเมินสภาพในห้องเรียน
เลือกสถานที่ที่จะทำงานที่ได้มอบหมายให้ตามใจชอบ แล้วแต่ความสะดวกสบายของแต่ละคน

ประเมิน
  ตนเอง -   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจคอยตักเตือนเรื่องการส่งงาน
  อาจารย์ -  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนช้ากว่าเวลาปกติเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
เนื่องจากเด็กปฐมวัยนั่งกับพื้น จึงต้องมีโต๊ะวางด้านหน้าครูเพื่อจะวางสื่อการสอนและวางกระดานเขียนทางซ้ายมือ เพื่อให้ครูขยับตัวเขียนกระดานโดยไม่ต้องลุกขึ้น และบังนักเรียนอย่างน้อยที่สุด


การประเมินเด็กปฐมวัย

การสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับบ้านและครอบครัว
ใช้การถามความคิดเห็นของเด็กว่าสิ่งที่อยู่ในบ้านเป็นคณิตศาสตร์บ้าง
 - สมาชิกครอบครัวมีกี่คน
 - คุณพ่อไปทำงานกี่โมง 
 - บ้านอยู่ใกล้หรือไกลจากโรงเรียน
 - โทรทัศน์เป็นรูปทรงใด
 - สมาชิกคนใดในครอบครัวสูงที่สุด
 - ใครอายุน้อที่สุด
 - ฯลฯ


ทักษะ

การสอนโดยใช้ขนม



วิธีการสอน
1 ครูนำขนมออกจากขวดโหลโดยให้เด็กนับทุกชิ้นที่ครูหยิบ
2 ครูหยิบขนมแล้วนำมาวางบนภาชนะที่เตรียมไว้แถวละ 10 ชิ้น
3 เรียงจนกระทั่งขนมหมดโหล
4 สำรวจความเห็นของเด็กว่าแถวใดมีจำนวนขนมมากที่สุด
5 พิสูจน์คำตอบด้วยการให้เด็กมาหยิบออกแบบ 1:1
6 ครูแจกขนมให้เด็กพร้อมทั้งการนับจำนวนขนมตามลำดับที่ตนหยิบ
 การนำไปใช้
   เป็นการสอนแบบบูรณาากรไม่เพียงแต่สอนคณิตศาสตร์เท่านั้น ยังสามารถสอนให้เด็กรู้จักการอยุ่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการรอคอย การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

วิธีการสอน
ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
มีการสอนแบบเป็นรูปธรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น


ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ พูดคุยขณะที่อาจารย์สอน หัวเราะเสียงดังรบกวนผู้อื่น
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ โต้แย้ง เเลกเปลี่ยนความรู้ของกันและกันความเสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
ประจำวันพุธที่ 8 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน



อาจารย์ผู้สอนตรวจแผนการสอน

-ไม่ต้องมีคำว่า "สามารถ" ในวัตถุประสงค์
-ไม่ควรให้เด็กนั่งเป้นวงกลม แต่ควรให้เด็นั่งเป็น "ครึ่งวงกลม" 
- ขั้นสอน กิจกรรมต่างๆหายไป ไม่มีความสมบูรณ์

แก้ไข แผนการสอน


แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอน
 กลุ่ม กล้วย
วิธีการสอน 
- สอนเด็กร้องเพลงกล้วย 
- ทายชนิดกล้วย 
- จับคู่กล้วย 
- นับจำนวนกล้วย และ นำจับออก 1:1
- ถามประโยชน์ของกล้วย

                                                                       เพลงกล้วย

 กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้มกล้วยหอมกล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า
ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

กลุ่ม แตงโม
วิธีการสอน 
- สอนร้องเพลงแตงโม 
- ถามชนิด 
- เล่นเกมแยกประเภทแตงโม
      >>โดยการให้เด็กติดตามรูปขนิดของแตงโม 
- นับจำนวนของแตงโมแต่ละชนิด

เพลงแตงโม 
 แตงโม แตงโม แตงโม
โอ้โห แตงโมลูกใหญ่
เนื้อแดงเรียกจินตหรา
เนื้อเหลืองนี้หนาเรียกน้ำผึ้ง


กลุ่ม สุนัข
วิธีการสอน  
- สอนร้องเพลงสุนัข
- ถามความรู้เดิมว่าเด็กรู้จักสุนัขชนิดอะไรบ้าง
- ถามในเนื้อเพลงมีสุนัขชนิดไหนบ้าง 
- นับจำนวนชนิดของสุนัข 
- แยกประเภทของสุนัขว่าชนิดไหนมากกว่า
     >> ให้เด็กหยิบจากกล่องมานับ
เพลงสุนัข
บ๊อกๆๆๆๆ บ๊อกเป็นเสียงของน้องหมา 
เด็กๆรู้มั้ยหน้าตา (ซ้ำ) ของน้องหมานั้นน่ารักดี
หมามีหลายชนิด   ไหนลองคิดๆช่วยกันสิ
เด็กๆช่วยตอบครูที (ซ้ำ) ชนิดน้องหมานี้นั้นมีอะไร 
เช่นโกเด้น บางแก้ว ชิวาๆ พุดเดิ้น บรู๊ๆ


ทักษะ

นำเสนอบทความ เรื่อง  
โดย นางสาวเจนจิรา เทียมนิล เลขที่ 12

สรุป 
    การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เราขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเลขาคณิตสามมิติและรูปเลขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  ตรงตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง  
โดย นางสาวยุภา ธรรมโคตร เลขที่ 18

สรุป 
   ใช้กิจกรรมก้อนหินแปลงกาย ให้เด็กเลือกก้อนหินคนละ 1 ก้อน แล้วให้เด็กตกแต่งโดยใช้กระดาษ ดินน้ำมัน สี ออกแบบตกแต่งตามจินตนาการ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องขนาด สี และรูปทรง เป็นการเรียนแบบบูณาการที่ได้ทั้งศิลปะ และ คณิตศาสตร์ เพิ่มความสนใจในการเรียนของเด็ก



วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา  ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ  

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย พื้นมีความสะอาด มีการให้นั่งทำงานที่ได้มอบหมายให้อย่างอิสระ 
 
ประเมิน
     ตนเอง -   แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เรียบร้อย ไม่กล้าเสนอความคิดเห็น
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งใจฟังการนำเสอนของเพื่อน
     อาจารย์ - เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  เข้าถึงผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
ประจำวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

 ตัวอย่างกิจกรรม Different ant animals



การนำไปใช้ เช่น
ครูเขียนคำบนกระดานดังนี้
ม้าลาย 2 ตัว 
กระต่าย 1 ตัว
ไก่       3  ตัว
มีขารวมกันทั้งหมดกี่ขา ?
   นักเรียนจะเกิดกระบวนการคิด
ม้าลาย มี 4 ขา = 4 + 4  = 8
กระต่าย มี 4 ขา = 4
ไก่ มี 2 ขา  = 2 + 2 + 2 = 6
จะได้ 8 + 4 + 6 = 18
     ตอบ  มีขารวมกันทั้งหมด 18 ขา

ประสบการณสำคัญ
    ประสบการณสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
    ประสบการณสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ
    ประสบการณสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม
    ประสบการณสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

รูปแผนความคิดปัญญากับคณิตศาตร์

ทักษะ
จับกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจ
   เพื่อทำแผนความคิด


รูปแผนความคิด เรื่อง ไก่

นำความคิดที่ได้เพื่อมาเขียนแผนการเรียนการสอน




นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาวสุจิตรา มาวงษ์ เลขที่ 25
สรุป  
    อนุบาล 1 ต้องสอนผ่านการเล่น การมีสิ่งที่เขาสนใจสิ่งที่ดึงดูดเขา เล่น  รูปทรง  สี
การสอนต้องเป็นการสอนแบบถามแล้วให้เขาตอบมีส่วนร่วมเสมอ ให้เขาได้จับได้สำผัส
และต้องยกตัวอย่างให้เขาเห็นอย่างชัดเจน  เช่น การจะสอนเลข 1  ต้องให้เขาเห็นเลข 1 ว่า
เป็นรูปทรงแบบไหน  ให้จับสำผัสเป็นรูปทรงยังไง  สอนตัวเลขแตาละตัวต้องให้เวลา 1  อาทิตย์เพื่อให้เด็กจำได้อย่างแม่นยำ และการสอนต้องแซกด้วยเกมเพื่อให้เด็กสนใจมากขึ้น  

นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
โดย นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4
สรุป  
     การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

นำเสนอวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการ
โดย นางสาวรัชดา เทพเรียน  เลขที่ 5
สรุป  

    การเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เด็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
นำเสนอวิจัย เรื่อง  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
โดย นางสาวกมลรัตน์  มาลัย  เลขที่ 6
สรุป 
 กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม
ตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น

วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ  

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย พื้นมีความสะอาด มีการให้นั่งทำงานที่ได้มอบหมายให้อย่างอิสระ 
 
ประเมิน
     ตนเอง -   แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ไม่เรียบร้อย
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งใจฟังการนำเสอนของเพื่อน
     อาจารย์ - เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  เข้าถึงผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
ประจำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

    เรียนอาจารย์ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อนๆทุกคน
    แนะนำสมาชิก เช่น ทางด้านซ้าสุดชื่อ.... ถัดมา ถัดมา 
พูดให้เสียงดังชัดเจน คำควบกล้ำ การออกเสียง ร.เรือ ล.ลิง ให้ชัดเจน

การแต่งคำคล้องจอง
    ควรที่จะมีการสัมผัสกันระหว่างบทเพื่อความไพเราะ

ทักษะ
นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต 

คำคล้องจองพีชคณิต
             1 2 3 1 2 3 _ _
     เลข 1 2 3        แล้วตามด้วย 1
 2 3 มาถึง              เลข 1 อีกหน
      1 2 แล้ว 3        เรียงงามน่ายล
ลองนับอีกกหน     น่าค้นหาเอย


นิทานพีชคณิต

นิทานเรื่อง ลูกสัตว์เพื่อนรัก
    เช้าวันนี้อากาศสดชื่นแจ่มใส สัตว์ทั้งหลายต่างพากันมาวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน ลูกเป็ด ลูกไก่ ลูกแมว ลูกหมา เป็นเพื่อนรักกันไม่ว่าจะเล่นอะไร ก็จะเล่นด้วยกันและไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดโดยมีลูกเป็ดเป็นผู้นำ ทั้งสี่มีเพลงร้องประจำกลุ่ม คือ "ลูกเป็ดเดินไป ลูกไก่เดินมา ลูกแมวเดินหน้า ลูกหมาเดินตาม 1 2 3 4 เดินตามเป็นแถว " วันนี้้พวกเขาททั้งสี่ไปเล่นน้ำที่สระ เมื่อถึงสระ ลูกเป็ดโดด ลูกไก่โดด ลูกแมวโดด ลูกหมาโดด เมื่อเล่นน้ำเสร็จทั้งหมดพากันกลับบ้าน ลูกเป็ดเดิน ลูกไก่เดิน ลูกแมวเดิน ....... เอ๊ะ!!
ลูกสัตว์ตัวใดหายไปนะ เพื่อนๆลองช่วยกันนับค่ะ "ลูกหมา" นั่นเอง ที่หายไป เพื่อนๆช่วยกันเรียกลูกหมา
ในที่สุดก็เจอ ทั้งหมดได้เมื่อได้พบกันแล้วก็เข้ากอดกันอย่างมีความสุข


     

ปริศนาคำทาย


 วิธีการสอน

ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ขาดความมั่นใจในการนำเสนอ
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น 
  

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
ประจำวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

สิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- แบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม
- แต่ง คำคล้องจอง
        นิทาน
        ปริศนาคำทาย
ตามสาระการเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
สาระที่ 1
   จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2 
   การวัด

สาระที่ 3
   เรขนคณิต

สาระที่ 4
   พีชคณิต

สาระที่ 5
   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6
   ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

ทักษะ
 ได้รับมอบหมายงานสาระที่ 4 พีชคณิต

-คำคล้องจองพีชคณิต
                                                                     
-นิทานพัชคณิต

-ปริศนาคำทายพีชคณิต

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
ประจำวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

     
การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
ตัวอย่างโรงเรียนที่มีการสอนแบบSTEM

โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่
                                                
                                                                     
การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี่   
   
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 2 : การวัด
   - ความยาวของสิ่งของต่างๆ เป็นการหาตามแนวนอน
   - การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
   - การวัดควายาว ความสูง ของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน
   - ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่างๆ
   - เรียงลำดับความยาว ความสูง จากมาก-น้อย จากน้อย-มาก
   - การชั่งน้ำหนัก ปริมามาตรน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
   - การตวง
   - ตัวเลขบนพันธบัตร
   - เวลาในแต่ละวัน
   - เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้
   - ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
   - ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะของสิ่งของต่างๆ
   - การจำแนก วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สาระที่ 4 : พีชคณิต
   - รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์




สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - ครอบครัวแม่เป็ดมี 6 ตัว หายไป 2 ตัว เหลือกี่ตัว
                      6 - 2 = 4
        ครอบครัวเป็ดเหลือ 4 ตัว
*** สอนแบบเป็นนิทาน ***
ตัวอย่าง
ครอบครัวของแม่เป็ดทั้งหมด 6 ตัว วันนี้แม่เป็ดจะพาลูกเป็ดออกไปหาอาหาร  จึงให้ลูกเป็ดเดินเป็นแถว
แม่เป็ดเรียกลูกเป็ด 1 2 3 4 5 และรวมแม่เป็ดด้วยเป็น 6 ตัว ทั้งหมดเดินมางไปหาอาหาร และได้หยุดเล่นน้ำที่บึงแห่งหนึ่ง ลูกเป็ด 2 ตัวได้เล่นน้ำไกลออกไปจากแม่และพลัดหลงกับแม่เป็ด  แม่เป็ดเรียกลูกเป็ดให้กลับบ้าน 1 2 3 และแม่เป็ด 4 เอ๊ะ!! หายไปไหน 2 ตัว เพื่อนๆรู้ไหมว่า ครอบครัวเป็ดจะเหลือกี่ตัว?

ทักษะ
นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวประภัสสร สีหะบุตร เลขที่ 21
เรื่อง  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
สรุป 
       ทักษะทางพื้นฐานคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอย่างมีวินัยสำคํญทางสถิติ การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำเพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้นำ้มันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็กเพื่อที่จะได้สะดวกกับเด็กในการทำกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีพัฒนาการด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย เช่น
ด้านความคิดแก้ปัญหา ทักษะทางภาษาส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและลีลามือ การทำกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจในการทำกิจกรรม

นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวมาศสุภา วงษ์สรรค์ เลขที่ 23
เรื่อง  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
ชื่อผู้วิจัย  นางสาววรชนีกร พ่วงโพธิ์
สรุป 
     ในการส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนั้นจะแรทรกอยู่ทุกกิจกรรม แต่กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและรู้สึกผ่อนคลาย พัฒนาสมอง เพลิดเพลินโดนเด็กไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เด็กได้เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวและฟังเพลงซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กอนุบาล 1 ซึ่งมีสมาธิไม่มากพอจะจับมานั่งเรียนคณิตศาสตร์

กิจกรรมในห้องเรียน



       

สรุปจากตาราง
วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย เสียงพัดลมดังเหมือนจะพัง
 
ประเมิน
     ตนเอง -   แต่งกายถูกระเบียบ ปรับปรุงการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ทำงานที่ได้รับมอบหมาให้ไม่เรียบร้อย
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งใจฟังการนำเสอนของเพื่อน
     อาจารย์ - เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
ประจำวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  การจัดการเรียนการสอนซึ่งให้ความสำคัญกับเด็กให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอ่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบกาณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ 
    
วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 
เริ่มโครงการ >>ระยะวางแผนโครงการ>>ดำเนินโครงการตามที่กำหนด>>สรุปโครงการ

ประโยชน์

- เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
- เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะที่มีอยู่
- เด็กเกิดแรงจูงใจภายในที่เกิดจากตัวเด็กเองในการทำกิจกรรม
- เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข
- นำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง

การนำไปประยุกต์ใช้ 

   ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้สัมผัส ได้เรียนรู้จากสถานที่จริง มีความอดทน รอคอยการสร้างองค์ความรู้ของเด็กมากกว่าจะบอกคำตอบเด็กทันที

การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน

     การออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาสมองของเด็ก เช่น ความแตกต่างระหว่างสมองของชายและหญิง มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมองชายและหญิง จะพบส่วนที่แตกต่างไม่กี่ส่วนเท่านั้น

หลัการสำคัญ

1. Uniquenness สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะ
2. ภาวะความเครียด จะมีผลยับยั้งรวมไปถึงการทำลายสมองด้วย
3. อารมณ์และความรู้สึกมีผลต่อการเรียนรู้
4. ขอมูลถูกเก็บและนำออกมาใช้ โดยความทรงจำหลายๆแบบ
5. การเรียนรู้ทุกชนิดอยู่บนพื้นฐานของ "จิตใจ-ร่างกาย"
6. สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนและปรับตัวตลอดเวลา
7. Brain is meaning driven - กระตุ้นความสนใจของสมองมากกว่า เนื้อหาของข้อมูลหรือข่าวสาร
8. ความฉลาด คือ ความสามารถในการรับรู้ เก็บ จัดระบบ และนำไปใช้ประโยชน์
9. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เข้มข้น และเกิดภายใต้จิตมนุษย์
10. สมองจะพัฒนาได้ดีมากเมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์กับสมองอื่นๆ
11. สมองพัฒนาไปทีละขั้น
12. การทำนุบำรุงสมองเกิดขึนได้ทุกอายุ

การนำไปประยุกต์ใช้

    ต้องให้ความสนใจต่อตัวเด็กเป็นรายบุคคล กระตุ้นให้เด็กรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต เข้ามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็นในปัจจุบัน 

การจัดประสบการณ์ แบบSTEM

      เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กัับผู้เรียน
S - Science-วิทยาศาสตร์
     ช่วยให้เรามีทักษะพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล
T-Technology-เทคโนโลยี
      วิทยาการมี่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือ สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
E-Engineering-วิศวกรรมศาสตร์
       ทักษะกระบวนการออกแบบ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบที่ใช้งานได้จริง
M-Mathematic-คณิตศาสตร์
       วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวน

การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่

      เป็นวิธีการนำการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ 
หลักการเรียนการสอน
- จัดห้องเรียนเสมือนบ้าน
- ให้เสรีภาพกับเด็กที่จะเลือกเล่นด้วยตนเอง
- จัดสภาพการณ์ต่างๆที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
- พัฒนาจิตใจพร้อมกับพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ
- เรียนไปพร้อมกับการเล่น
- ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กทุกด้าน
- ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การรักเด็กและนับถือความสามารถของเด็ก
- มุ่งให้เด็กได้เป็นเด็กที่ดีมีคุณค่าทางจิตใจ
- จัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำ โดยเตรียมการสอนและสิ่งเเวดล้อมอย่างมีความหมายให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจเอง ไม่ต้องมีคำติชม การให้รางวัล และการลงโทษ

การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง
       เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้อย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลกหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อพัฒนาศักยภาพทั้งตัว
ขั้นการสอนแบบเดินเรื่อง
1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้
2. กำหนดหัเรื่อง ควรเป็นเื่องที่เด็กสนใจ
3. เตรียมการผูกเรื่องหรือการดำเนินเรื่อง
4. ตั้งคำถามหลักหรือความสำคัญ ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยงการดำเนินเรื่องในแต่ละตอน


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้








ทักษะ

นำเสนอบทความ
โดย นาวสาววราภรณ์ แทนคำ เลขที่ 19
เรื่อง ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ในช่วงปีแรกของชีวิตของลูก
สรุป 
       อายุ 0-5 ปี เป็นช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด สมองซีกขวาจะได้ออกกำลังกาย และจะช่วยสร้างเซลล์สมองของลูกที่ถูกทำร้าย หรือฝ่อไปการสอนทำได้ง่ายๆเพียงการเพียงการดูชุดแฟรชจำนวนกับลูกทุกวัน และใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง

กิจกรรมในห้องเรียน
เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
1 - 5       กลุ่มสตอเบอรี่
6 - 10     กลุ่มเชอรี่
11 - 15   กลุ่มแอปเปิล
15 - 20   กลุ่มลิ้นจี่
21 - 25   กลุ่มมะม่วง
วิธีดำเนินการ
   นำป้ายชื่อมาติด>>พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง>>เลือกกลุ่ม>>นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน>>นับจำนวนป้ายทั้งหมด>> นำเสนอด้วยภาพและสัญลักษณ์

เพลง บวก-ลบ
                                                 บ้านฉันมีแก้ว 4 ใบ            ครูให้อีก 3 ใบนะเธอ
                                               มารวมกันนับดูซิเออ            ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                               บ้านฉันนั้นมีแก้วน้ำ 7 ใบ     หายไป 3 ใบนะเธอ
                                               ฉันหาแก้วน้ำไม่เจอ             ดูซิเออเหลือเพียง 4 ใบ

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
                                                           ช้างมี 4 ขา           ม้ามี 4 ขา
                                                       คนเรานั้นหนา           2 ขาต่างกัน
                                                       ช้างม้ามี 4 ขา           4 ขาเท่ากัน(ซ้ำ)
                                                       แต่กับคนนั้น             ไม่เทากันเอย(ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
     เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
            คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
               (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                  ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี

เพลง จับปู
         1 2 3 4 5        จับปูมาได้ 1 ตัว
              6 7 8 9 10             ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
                   กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว       ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ
         ลา ล้า ลา ... 
วิธีการสอน
               อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ประเมินสภาพในห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย
 
ประเมิน
     ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบในการมาเรียน เข้าห้องเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ปรับปรุงการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง
     เพื่อน   -  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
     อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  เข้าสอนตรงต่อเวลา